วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ยางสนหัวใจของเครื่องสาย ♡

♡ วันนี้เรามารู้จักยางสน (Rosin) ให้มากขึ้นกันดีกว่าครับ ♡



               นักเรียนไวโอลิน และนักดนตรีเครื่องสายทุกคนคงรู้ดีแล้วว่า ยางสนนั้นเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญสำหรับเครื่องดนตรีที่ใช้คัญชักในการบรรเลง เพราะถ้าหางม้าของคัญชัก ไม่ได้ผ่านการฝนด้วยยางสนแล้วนั้นจะทำให้ไม่เกิดความหนืดเพียงพอที่จะสร้างแรงเสียดทานแระความสั่นที่จะทำให้เกิดเสียงดนตรี ออกมาได้ ดังนั้นนักดนตรี/นักเรียนเครื่องสาย ควรจะมีความรู้เรื่องยางสนอยู่บ้างเพื่อจะเลือกยางสนที่เหมาะสมกับความชอบได้ ก่อนอื่นเรามารู้จักกับที่มาของยางสนกันก่อนดีกว่า

 ยางสน (Rosin) หรือที่ช่างทำยางสนรู้จักกันดีในชื่อ Colophon  หรือ Colophony   คือยางไม้ (Resin) ที่ได้จากต้นสน (Pine) ซึ่งมีอยู่กว่า 110 ชนิดทั่วยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ และนิวซีแลนด์ คำว่าColophony   มีประวัติย้อนหลังไปถึงอาณาจักรโบราณ Colophon ใน Lydia ซึ่งมีการผลิตยางสนคุณภาพดีเพื่อทำควันเพื่อใช้ทั้งในการแพทย์และพิธีกรรมเวทมนตร์ต่างๆ

        การเก็บยางสน จะได้จากต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยวิธีการที่คล้ายคลึงกับวิธีการเก็บน้ำหวาน (Syrup) จากต้นเมเปิ้ล ซึ่งวิธีการนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อต้นไม้ ในขั้นตอนแรกจะบากเปลือกไม้ออกก่อน หลังจากนั้นจะฝังท่อโลหะและภาชนะสำหรับใส่ยางสน ในขั้นตอนสุดท้ายจะบากต้นไม้เป็นรูปตัว V เหนือท่อโลหะ มีความกว้างประมาณ 1 ซ.ม. ร่องบากนี้จะช่วยให้ยางสนไหลลงสู่ภาชนะที่เตรียมไว้ การบากร่องควรซ้ำทุกๆ 5 วันเพื่อให้ยางสนไหลได้สะดวก

หลังจากที่ได้ยางสนเรียบร้อยแล้ว ในบางครั้งก็จะผสมของเหลวจากต้นไม้บางชนิด โดยปกติจะได้จากต้นสน ต้นสปรู๊ซ ต้นเฟอร์ ช่างทำยางสนแต่ละคนจะมีสูตรลับเฉพาะตัวเช่นเดียวกับที่ช่างทำไวโอลินมีสูตรน้ำมันวานิชของตนเพื่อให้ได้ยางสนสูตรพิเศษ หลังจากนั้นจะนำส่วนผสมที่ได้ไปกรองและเคี่ยวในหม้อขนาดใหญ่จนกระทั่งยางสนเหลวได้ที่ จากนั้นจึงรีบเทส่วนผสมที่ได้ลงแม่พิมพ์ ทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 30 นาที ยางสนจะเริ่มจับตัวเป็นก้อนและมีความมันวาว หลังจากนั้นจึงห่อยางสนลงในผ้าหรือใส่ลงในภาชนะบรรจุที่เตรียมไว้

       สีสันของยางสนขึ้นอยู่กับช่วงระยะเวลาในการเก็บ ถ้าเก็บในช่วงปลายฤดูหนาวหรือในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ จะได้ยางสนสีทองหรือสีอำพันซึ่งมีความแข็งเมื่อย็นตัวลง แต่ถ้าเก็บในฤดูร้อนหรือฤดูใบไม้ร่วงจะได้ยางสนสีเข้มและมีความอ่อนนุ่มกว่า
ยางสนทำให้เกิดเสียงได้อย่างไร
        หลักการทำงานของยางสนคือ การอาศัยความฝืดระหว่างหางม้าและสายที่เกิดจากความเหนียวของยางสน เมื่อลากคันชักผ่านสายก็จะลากสายไปในทิศทางเดียวกันจนกระทั่งสุดปลายคันชัก เมื่อสายถูกลากไปจนสุดก็จะดีดตัวกลับ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนตามคลื่นความถี่ของสายที่ตั้งไว้

        ทฤษฎีดังกล่าวเป็นหนึ่งใน 2 ทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องการเกิดเสียงของเครื่องดนตรีที่ใช้คันชัก ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่ายางสนทำให้เกิดสะเก็ดหรือตะขอเล็กๆ บนหางม้าหรือที่เรียกว่า ‘Barbs’ สะเก็ดเล็กๆ เหล่านี้จะไปเกี่ยวสายทำให้เกิดการสั่นสะเทือนในขณะที่ลากคันชักผ่านสาย

สูตรของยางสนและตัวอย่างยางสนในท้องตลาด


ยางสนผสมทอง (Gold rosin)

        จะให้น้ำเสียงที่อบอุ่นและชัดเจน เหมาะกับเครื่องดนตรีทุกประเภท ยางสนผสมทองจะช่วยทำให้เครื่องดนตรีที่มีเสียงแหลมมีน้ำเสียงที่นุ่มนวลขึ้น นักดนตรีประเภทแสดงเดี่ยวหลายๆ คนกล่าวว่า ยางสนชนิดนี้ช่วยให้เสียงเครื่องดนตรีของพวกเขามีน้ำเสียงนุ่มนวลและชัดเจนยิ่งขึ้น

  ยางสนผสมโลหะเงิน (Silver rosin)

        ช่วยทำให้เสียงของเครื่องดนตรีมีโทนเสียงที่แน่นและสดใสขึ้น โดยเฉพาะการเล่นในโพสิชั่นสูงๆ เหมาะเป็นอย่างยิ่งกับไวโอลินและวิโอล่า

ยางสนผสมตะกั่ว-เงิน (Lead-Silver rosin) 

        เหมาะสำหรับไวโอลินและวิโอล่า เป็นยางสนที่มีความนุ่มนวลแต่ไม่เหนียวเหนอะ ให้น้ำเสียงที่นุ่มนวล ชัดเจนและสดใส

ยางสนผสมทองแดง (Copper rosin) 

        ให้น้ำเสียงที่ชัดเจนที่สุดในบรรดายางสนผสม ยางสนชนิดนี้ช่วยให้การเล่นของนักดนตรีมือใหม่ได้ง่ายขึ้น เหมาะกับเครื่องดนตรีขนาด 1/2 และ 3/4 ยางสนชนิดนี้ให้เสียงที่อบอุ่นนุ่มนวลเหมือนกำมะหยี่ นอกจากนั้นยังเป็นที่นิยมในหมู่นักดนตรีประเภท Gamba อีกด้วย



ยางสนที่มีจำหน่ายในท้องตลาด 


        มีทั้งแบบกล่องสี่เหลี่ยม (Box) และก้อนกลม (Cake) โดยทั่วไปยางสนชนิดแรกจะมีราคาถูกกว่า มีให้เลือกทั้งแบบสีอ่อนและสีเข้ม จัดเป็นยางสนเอนกประสงค์ที่สามารถใช้กับเครื่องดนตรีได้ทุกประเภทและทุกฤดูกาล รวมถึงเครื่องดนตรีประเภทเบส ข้อดีของยางสนชนิดนี้คือ เหมาะกับนักดนตรีหัดใหม่ที่ใช้คันชักซึ่งเป็นหางม้าเทียม ข้อดีอีกอย่างก็คือสามารถใช้ได้นานกว่า ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการร้าวหรือแตก

ส่วนยางสนประเภทก้อนกลมมักจะมีคุณภาพดีกว่า เนื้อยางสนมีความบริสุทธิ์กว่า มีจำหน่ายทั้งแบบสีเข้มและสีอ่อนเช่นเดียวกัน
ผงยางสนที่เกิดจากการเล่นอาจสร้างปัญหาให้กับนักดนตรีอยู่บ้าง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องอาการแพ้ละอองยางสน บริษัทผู้ผลิตบางแห่งจึงได้คิดค้นยางสนปลอดภูมิแพ้ขึ้นมา (Hypoallergenic rosin) มีความใสและปราศจากฝุ่นละออง ผลิตออกจำหน่ายในรูปก้อนกลม ไม่เกิดฝุ่นและละอองเวลาเล่น

        แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้ยางสนประเภทใดก็ตาม ควรใช้แต่พอดี นักดนตรีหลายๆ คนฝนยางสนมากเกินความจำเป็น ไม่จำเป็นต้องฝนยางสนทุกครั้งที่เล่น การฝนยางสนแต่ละครั้งสามารถใช้ได้ 4-5 ครั้งเลยทีเดียว ยิ่งฝนยางสนบ่อยเกินไปก็อาจต้องเปลี่ยนหางม้าบ่อยขึ้นเท่านั้น
เคล็ดลับประการสุดท้ายคือ การป้องกันไม่ให้ยางสนทำลายเครื่องดนตรีตัวเก่งของคุณ วิธีการทำความสะอาดก็คือ ให้พกผ้านุ่มๆ ไว้ในกล่องเครื่องดนตรี หมั่นทำความสะอาดสาย คันชักและเครื่องดนตรีทุกครั้งหลังการเล่น


ยางสนสำหรับนักดนตรีที่เป็นภูมิแพ้ยี่ห้อ



Clarity Hypoallergenic Violin/Viola Rosin





               จากบทความนี้จะเห็นได้ว่ายางสนนั้นมีสูตร (Formula) ต่างๆ มากมาย ดังนั้นนักเรียนควรเลือกซื้อ จากคุณสมบัติของสูตรต่างๆ และน้ำเสียงที่ต้องการให้ซอเป็นแบบไหน แล้ววจึงเลือกสูตรนั้นๆ อ่อแต่ละสูตรนี่ก็มีราคาค่าตัวต่างกันนะครับ (ไม่เท่ากันอยู่แล้วเพราะว่าวัสดุที่ใส่เพิ่มเข้าไปนั้นต่างกัน คุณภาพของเนื้อยางสนนั้นก็ต่างกัน) แต่ถ้าจะให้ครูฮายแนะนำครูฮายว่า ถ้าเราเพิ่งหัดเล่นก็ใช้ยางสนที่แถมมาก่อนก็ได้ แล้วถ้าอยากลองยางสนที่คุณภาพต่างจากที่แถมมาครูฮาย แนะนำเป็นยี่ห้อ Pirastro พวกราคาไม่แพงมากรุ่น Tonica หรือจะเป็น ยางสนยี่ห้อ Bernadel Rosin ก็ได้ครับ

อันนี้คือ ยางสน Pirastro Tonica (ปิราสโต โทนิก้้า) นะครับ



ส่วนอันนี้คือ ยางสน Bernadel Rosin (กูดสตัพเบเนอร์เดล)



อันนี้คือยางสนผสมทอง Pirastro Gold ครับ



อันนี้เป็นยางสนยี่ห้อ LETO No.8002 สูตรผสมเงินครับ



อันนี้เป็นยางสนสีดำ (น่าจะมีส่วนผสมของถ่าน/คาร์บอน) ยี่ห้อ Pirastro



               ยางสานพวกนี้ราคาไม่เกินประมาณห้าร้อยครับคุณภาพของเบนนาเดลนี่โอเครเลยครับ เรื่องของยางสนนี่ยังไงลองใช้ดูที่ชอบนะครับ ต่างคนก็ชอบไม่เหมือนกัน

ไว้เจออะไรที่นักเรียนควรรู้ครูฮายจะนำมาเล่าให้ฟังใหม่นะครับ ไว้เจอกันบทความหน้า สำหรับวันนี้ราตรีสวัสดิ์ครับ





ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/akXNgN




วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

มารู้จักส่วนต่าง ๆ ของไวโอลิน กันเถอะ!

มารู้จักส่วนต่าง ๆ ของไวโอลิน กันเถอะ!



Violin ไวโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่มีขนาดเล็กที่สุดในกลุ่มเครื่องดนตรีที่ใช้คัญชัก (Bowing Instrument) ซึ่งรูปร่างของเครื่องดนตรีที่ใช้คัญชักเหล่านี้จะมีรูปร่างคล้ายๆกัน (เรียงเล็กไปโต) อันได้แก่ ไวโอลิน วิโอล่า และเชลโล่ และที่ใหญ่ที่สุดคือดับเบิลเบส โดยไวโอลินและวิโอล่าจะมีความคล้ายกันที่สุดทั้งรูปร่างและวิธีการในการบรรเลง (ซอแบกบ่า) ทีนี้เรามารูปจักส่วนต่างๆ ของไวโอลิน และวิโอล่ากันดีกว่า ว่าแต่ล่ะส่วนเรียกว่าอะไรและมีคุณลักษณะหรือหน้าที่อะไร

ส่วนประกอบต่างๆ ของตัวซอไวโอลิน


Scroll = ส่วนหัวของตัวซอไวโอลิน (วิโอล่า เชลโล่ ดับเบิลเบส) ส่วนนี้แกะขึ้นมาอย่างสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องสายในตะกูลนี้

Pegs = ในภาษาไทยเราหมายถึงลูกบิด มีหน้าที่ใช้ขึงสายทั้งสี่เส้น ดังนั้นลูกบิดจึงมีสี่อัน สำหรับสายสี่สายของซอ

Finger Board = คือส่วนที่เป็นสะพานวางนิ้ว ทำจากไม้สีดำ (อาจจะเป็นอีโบนี่ หรือไม้เผาไฟ หรือไม้เนื้อแข็งชนิดอื่นๆ)

Strings = หมายถึงสายของซอ มีทั้งหมดสี่เส้นของไวโอลินจะเรียนเป็น (1-4) E A D G ส่วนของวิโอล่าจะเรียงเป็น A D G C

Upper Body = ส่วนลำตัวซอช่วงบน

F-Hole = ช่องเสียงรูปตัวเอฟ จะมีสองช่อง หันหน้าเข้าหากัน มีความสำคัญคือเป็นช่องที่ทำให้เสียงของไวโอลินสะท้อนออกมาจากตัวเครื่องดนตรีที่มีลักณะเป็นกล่องไม้ โดยช่องนี้จะเป็นเอกลัษณ์เฉพาะในเครื่องดนตรีตระกูลนี้

Bridge = ในภาษาไทยเราเรียกว่า "หย่อง" มีลักษณะเป็นไม้ที่ตัดเป็นโค้งใช้เพื่อให้สายทั้งสี่ของตัวซอพาดผ่านและรับน้ำหนักจากแรงกดของสายทั้งสี่ โดยหย่องมักจะทำจากไม้เนื้อแข็ง มีรูปร่างเป็นสะพานสาย ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงใช้คำว่า Bridge

Lower body = ส่วนลำตัวของเครื่องดนตรีช่วงล่าง

Fine Tuners = ที่ปรับเสียงละเอียด อาจจะเรียกได้ว่า "ตัวปรับละเอียด" โดยใช้ปรับเสียงเพียงเล็กน้อยสำหรับไวโอลินระกับนักเรียนมักจะมีที่ปรับละเอียดมาสี่ตัว แต่ไวโอลินระดับอาชีพหรือระดับกลางมักจะมีที่ปรับละเอียดมาเพียงสองตัวเท่านั้น

Tail Piece = หางปลา เป็นส่วนที่ไว้ใส่สายทั้งสี่ของไวโอลิน โดยเอาสายส่วนที่เป็นบอลใสลงไปในหางปลา

Chin Rest = ที่รองคาง มีไว้เพื่อใช้รองรับคางที่วางลงเพือประคองเครื่อง

Button Pin = จุกที่ท้ายของไวโอลินมีเพื่อรัดหางปลาด้วยเอ็นพันไว้กับส่วนนี้


ทีนี้เรามาเรียกส่วนต่างๆ ของคัญชักกันบ้างดีกว่า


Tip = ปลายของคัญชัก/คัญชักส่วนปลาย

Stick = ด้ามของคัญชัก ทำด้วยไม้เป็นส่วนมาก มีทั้งแบบกลมและแบบเหลี่ยม โดยอาจจะใช้วัสดุอื่นทำด้ามคัญชักได้ด้วยเช่นไฟเบอร์กลาส หรือพลาสติก

Horse Hair = ห้างม้า เป็นส่วนที่ใช้รวมกับยางสนเพื่อทำให้เกิดความหนืด และเมื่อสีลงที่สาย จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือน

Bow Grip = ทำจากวัสดุโลหะเป็นส่วนใหญ่ เช่นเงิน ทอง หรืออาจจะทำจากวัสดุอื่นๆ เช่นเอ็นได้ด้วย โดยจะมีส่วนที่เป็นโลหะอยู่ช่วงบนและมีส่วนที่เป็นหนังอยู่ด้านล่าง

Frog = ช่วงโคนคัญชัก มีลักษณะเป็นกล่องสีเหลียม

Adjusting Screw = ส่วนของน็อตขันเพื่อทำให้สายหางม้าตึงหรือใช้หย่อนความตึงของหางม้า 


เมื่อกี้พูดถึงยางสนไปด้วยเรามาดูกันดีกว่า ว่ายางสนมีหน้าตาเป็นแบบไหน


Rosin ยางสน


ยางสนใช้ถูกับหางม้าของคัญชักเพือให้เกิดความหนืดเมื่อใช้หางม้าสีที่สายของเครื่องดนตรี


ส่วนอีกอุปกรณ์ที่ยอดนิยมเลยสำหรับผู้เริ่มเรียนนั่นก็คือ ที่รองคางที่รองคางเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ใส่เข้าไปยังหลังของตัวซอเพือใช้รองรับระยะห่างระหว่างไหล่และตัวเครื่องและลดช่องว่างของลำตัวและเครื่องดนตรีทำให้ไม่ต้องยกไหล่ การยกไหล่อาจจะทำให้ร่างกายเกรงนับเป็นการเล่นที่ไม่ดี




จะเห็นได้ว่าไวโอลินจะมีส่วนต่างๆ ที่เรียกด้วยชื่อเฉพาะซะส่วนมากดังนั้นผู้เล่นควรจะรู้จักส่วนต่างๆ ของเครื่องดนตรีว่าเรียกว่าอะไรมีหน้าที่อะไร เพื่อที่จะได้ดูแลรักษาส่วนต่างๆ ของเครื่องดนตรีได้


ในครั้งต่อๆ ไปครูฮายจะเขียนลงรายละเอียดไปยังเรื่องของยางสนและ คัญชักรวมไปถึงอุปกรณ์เสริมต่างๆ ของไวโอลินอย่างลงลึก เพื่อเป็นข้อมูลของผู้หัดเล่นไวโอลินได้ทำความรู้จักนะครับ

😁🎻🎶

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เล่าสู่กันฟัง: การบรรยายและสาธิตไวโอลิน 15/11/59

เล่าสู่กันฟัง: การบรรยายและสาธิตไวโอลิน 

ที่ ม.ศ.ว. วันที่ 15 พฤษจิกายน 2559 



เล่าประสบการณ์การเข้าร่วมฟังการบรรยายและการสาธิตไวโอลินโดย Maestro Ivan Novinc

ที่จริงต้องเรียกว่าการโชว์ Master Class เสียมากกว่าเพราะหลังจากมีการเปิดงานแล้วทางผู้จัดงานก็เรียกให้ นักเรียน (ผู้ที่จะทำ Master Class)

คนแรก ให้เข้ามาเล่นเพลงที่ตนเองจัดเตรียมมา สำหรับคนแรกคือสาวน้อยผู้ซึ่งมาด้วยรอยยิ้ม เธอบรรเลงเพลง Beethoven : Spring Sonata (Mov. I Allegro) เมื่อเธอเริ่มเล่นฟังได้ชัดเลยว่ากำลังเล่นเพลงอะไรแม้สาวน้อยคนนี้จะมีอาการประหม่าอยู่บ้างก็ตาม และเธอเล่นเพียงไม่กี่ห้องเพลง เพื่อจะหยุดให้ Ivan ได้ให้คำแนะนำ ซึ่งทางผู้สอนก็ได้ให้คำแนะนำในการเล่นด้วยเทคนิคต่างๆ เพื่อนจะได้เสียงและสำเนียงในแบบที่บทเพลงควรจะเป็น โดยสังเกตุได้ว่า Ivan จะเน้นให้คำแนะนำในเรื่องเทคนิคพื้นฐานในการฝึกซ้อมก่อน (อาจจะสังเกตุจากผู้เล่นว่า Skill พื้นฐานยังคงต้องการได้รับการฝึกฝน) โดยให้ฝึกกำลังที่นิ้วมือซ้ายโดยให้กดลงบน Finger Board ให้มีเสียงคลิ๊กๆ คล้ายกับการกระทบสายด้วยนิ้วเพื่อให้เกิดเสียง และยังแนะนำเทคนิคเรื่องการใช้คัญชักในการควบคุม Dynamic ในการเพิ่มเสียง-ลดเสียงด้วยการใช้มือขวา การทำมาสเตอร์คลาส จะไม่ได้ให้เล่นเพลงทั้งเพลง แต่จะดูเป็นช่วงๆ ของประโยคดนตรี เพื่อโฟกัสไปยังจุดที่ต้องการคำแนะนำ ท้ายนี้ Maestro Ivan Novinc ยังให้ผู้รับการมาสเตอร์คลาสเล่น Scale ผู้ทำมาสเตอร์คลาสจึงเล่นสเกลจี เมเจอร์-ไมเนอร์ แบบตำรากาลาเมี่ยน (แลดูมีชั้นเชิงในการเล่นอยู่มิน้อย) แต่ทว่าสเกลที่เธอเล่นนั้นยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง และยังมีการเคลื่อนที่ของนิ้วที่ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ ท้ายสุด Maestro Ivan Novinc ก็ถามเธอว่าเริ่มเล่นไวโอลินมานานแต่ไหนแล้วเธอตอบว่าเริ่มเล่นมาสองปี โดย Maestro Ivan Novinc ปิดท้ายคำแนะนำว่าที่จริงเธอควรโฟกัสไปยังพื้นฐานของการเล่นไม่ว่าจะเป็นสเกล และแบบฝึกหัด และเรื่องของการรีแลซและยังไม่น่าเล่นเพลง Spring Sonata น่าจะเริ่มเล่นเพลงของชูมันก่อนเพราะเพลงของบีโทรเฟนนั้นใช้เทคนิคค่อนข้างมาก

ท่านที่สอง มาเล่นบนเพลง Bach : Concerto in a minor (mov. I Allegro) คนนี้เป็นผู้ชายครับ เขาเริ่มเล่นเราก็ตั้งใจฟังกันเป็นอย่างมากแต่ก็ปรากฏว่าเขาเล่นออกมาเราก็รู้สึกประหลาดใจนิดหน่อย ดูท่าผู้เข้ามาสเตอร์คลาสท่านนี้ ต้องข้ามบนเรียนมาไกลเพื่อเล่นเพลงนี้เป็นแน่แท้ เพราะไม่ว่าเรื่องของการใช่คัญชัก เรื่องของเสียง(ระดับเสียง) และจังหวะนั้นยังฟังไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ โดย Maestro Ivan Novinc ได้ให้คำแนะนำว่าให้เล่นโดยให้มี Relaxation ให้มากที่สุด และการจับคุญชักก็ให้ปรับโดยให้จับคัญชักในระดับที่เหมาะสมกับการสี (วางมือไว้ระดับกลาง) และงอนิ้วทุกนิ้วให้สามารถขยับได้ในระหว่างที่สีเพื่อสมมารถทำเทคนิคต่างๆ ได้และการเปลี่ยนคุญชักในแต่ละสายเมื่อเล่นข้ามสาย (เช่นสเกล) จะต้องกระทำด้วยการใช้นิ้วมือในการช่วยเปลี่ยนเสียงเพื่อให้เสียงเกิดความต่อเนื่อง

ท่านที่สาม คนนี้มาด้วยความมี่นใจและเล่นเพลงยากเสียด้วย Paganini : Caprice no.24 เป็นเพลงที่ถือว่าใช้เทคนิคในการเล่นในระดับสูง ท่านนี้เป็นเด็กมัธยมปลาย ซึ่งฝีมือดีทีเดียวสามารถเล่นเพลงนี้ได้ฟังออกมาดี โดยท่าน Maestro Ivan Novinc ได้ให้คำแนะนำในการเล่นในแต่ล่ะ Variation (เพลงนี้มีลักษณะเป็น Theme and Variations) ทั้งการเน้นยำเรื่องระดับเสียง (Pitch) และการใช้คัญชักต่างๆ เพื่อให้ออกมาดีที่สุดน้องคนนี้ก็สามารถปรับตามคำแนะนำได้เลยในทันทีทำให้เห็นถึงความแตกต่างในการเล่นทั้งก่อน และ หลังในการได้รับคำแนะนำจากการทำ มาสเตอร์คลาส

จากนั้นมีการเปิดโอกาศให้ผู้เข้าร่วมการบรรยาย และผู้สังเกตุได้ตั้งคำถามซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะยังไม่กล้าถาม ด้วยนิสัยคนไทยเป็นคนขี้อายโดยอาจารย์ฝ้ายเป็นผู้ถามให้ โดยได้ถามเรื่องเทคนิคในการซ้อมเช่นการฝึกวิบร้าโต Maestro Ivan Novinc ให้คำแนะนำว่าในการฝึกวิบราโตนั้นควรเริ่มจากการทำความเข้าใจในวิธีการในการวิบราโตเสียก่อน เริ่มที่นิ้วชีจะสามารถทำได้ง่ายและสดวกในการฝึก โดยในระดับเริ่มต้นให้ใช้การตั้งนิ้ว-ย่อนิ้ว จากปลายนิ้วแต่ต้องไม่ลืม Relaxation และเช็คให่มือซ้ายไม่เกรง ให้ผึกวิบราโตจากแขนเสียก่อน

ปิดท้าย การบรรยายด้วยการแสดงไวโอลินจาก Maestro Ivan Novinc ในบทเพลง
Schindler's List Violin Theme




สรุปการสังเกตุการณ์ ส่วนใหญ่แล้วนั้นในการ Master Class เด็กนักเรียน หรือนักดนตรีชาวไทยจะเลือกเพลงที่ตนเองชอบมากกว่าจะเป็นเพลงที่ตนเองจะสมควรเล่นในระดับความสามารถที่สามารถต่อยอดได้ แต่การเลือกเพลงโดยไม่ได้คำนึงถึงระดับฝีมือของตนเพลงนั้นมักจะไม่ได้รับคำแนะนำอย่างเหมาะสมเพราะผู้สอนมองเห็นจุดที่ควรฝึกซ้อม แก้ไข ก่อนจะมาถึงเพลงพวกที่เลือกไป อย่างในการมาสเตอร์คลาสครั้งนี้ Maestro Ivan Novinc เน้นไปยังเทคนิคในการเล่นพื้นฐานที่ต้องแกไขของผู้เล่นมากกว่าที่จะไปยังเพลงที่นำเสนอ ดังนั้นทุกคนที่กำลังฝึกไวโอลิน อยู่นะครับคุณควรเริ่มต้นและเรียนไปทีละ ระดับชั้นไม่ควรข้ามหรือละเลยในการฝึกเบสิคพื้นฐานให้ดีนะครับ